หลายๆคนที่กำลังจะซื้อโน็ตบุคหรือคอมพิวเตอร์ใหม่นั้นอาจจะเจอกับคำว่า SSD ในโบว์ชัวสเปคคอมพิวเตอร์ที่เราดูอยู่ แล้วอาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ ! เจ้าคำว่า SSD นั้นคืออะไร? แล้ว SSD ต่างจากฮาร์ดดิสแบบเดิมอย่างไร ดังนั้นวันนี้ผมจะมาแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักว่า SSD คืออะไรกัน ? เอาล่ะ ก่อนอื่นเรามาดูรูปร่างหน้าตาของฮาร์ดดิสแบบที่เราใช้กันทั่วไปกับฮาร์ดดิส SSD แบบใหม่กันก่อนว่า แตกต่างกันอย่างไร
ประเภทฮาร์ดดิสทั่วไปในท้องตลาด
1. ฮาร์ดดิสแบบจานหมุนที่เราใช้กันทั่วไป
2. ฮาร์ดดิสแบบ SSD
SSD (Solid State Drives) คือ ฮาร์ดดิสก์แบบใหม่ที่เป็นการใช้ชิปหน่วยความจำเก็บข้อมูลแทนจานแม่เหล็ก ซึ่งเหมือนกับแฟร์ชไดร์ฟนั่นเอง โดย SSD มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่
1. ชิปหน่วยความจำ
2. ชิปคอนโทรลเลอร์สำหรับควบคุมการทำงาน
ในท้องตลาดผลิต SSD มา 2 แบบ ซึ่งจะแบ่งตามชนิดของชิปหน่วยความจำ ได้แก่
1. NOR Flash จะเป็นแบบที่หน่วยความจำแต่ละชิปจะถูกเชื่อมต่อกันแบบขนาน ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างอิสระและอ่านข้อมูลได้รวดเร็วมาก แต่มีความจุต่ำและราคาแพงมากกว่า NAND Flash
2. NAND Flash จะเป็นแบบเข้าถึงข้อมูลทีละบล็อกทำให้มีความจุสูงราคาถูก ซึ่งมีคุณลักษณะโครงสร้างเหมือนกับแฟร์ชไดร์ฟนั่นเอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- Single Level Cell (SLC) คือ ในแต่ละเซลเก็บข้อมูลได้ 1 บิต ทำงานเร็วกินพลังน้อย และมีอายุการใช้งานนาน สามารถเขียนได้ประมาณ 1 แสนครั้ง แต่ราคาสูง
- Multi Level Cell (MLC) คือ ใน 1 เซลเก็บข้อมูลได้มากกว่า 1 บิต ความเร็วต่ำกว่าและใช้พลังงานมากกว่า SLC สามารถเขียนได้ประมาณไม่เกิน 1 หมื่นครั้ง ซึ่งมีราคาถูก
ข้อดีข้อเสียของ SSD
ข้อดี
1. เวลาการเข้าถึงข้อมูลเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์
2. เงียบเพราะไม่ได้ใช้จานหมุนเหมือนฮาร์ดดิสก์
3. ทนแรงกระแทก การสั่นสะเทือน และอุณหภูมิที่สูงกว่า
4. น้ำหนักเบากว่าฮาร์ดดิสแบบจานหมุน
5. ความร้อนน้อยกว่าฮาร์ดดิสแบบจานหมุน
6. ปัญหาเรื่องการกระจายของไฟล์ (File Fragmentation) ไม่มีผลต่อความเร็วของ SSD อีก
ข้อเสีย
1. ราคาแพง เมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์
2. ความจุต่ำ