เมนบอร์ด (Main Board) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมและจัดการการทำงานของอุปกรณ์ชนิดต่างๆในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ และระบบบัส เป็นต้น ซึ่งบนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย โดยปกติแล้วเมนบอร์ดนั้นมักมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อ เช่น มาเธอร์บอร์ด (motherboard), ซิสเต็มบอร์ด (system board), ลอจิกบอร์ด (logic board) เป็นต้นนั่นเอง
ส่วนประกอบของเมนบอร์ด
หน่วยความจำแคช (cache memory) : ทำหน้าที่พักข้อมูลที่เพิ่งถูกเรียกใช้ เมื่อถูกเรียกใช้งานซ้ำ ซีพียูจะดึงข้อมูลจากหน่วยความจำนี้ขึ้นมาใช้ เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างของแคชเมมโมรี่ คือ L1, L2 ยิ่งมีขนาดใหญ่ ยิ่งทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น
โปรเซสเซอร์ซ็อกเกต (processor socket) : เป็นที่ติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด
จัมเปอร์ (jumper) : ใช้สำหรับการปรับแต่งการใช้เมนบอร์ด เช่นกำหนดเรื่องความเร็วของซีพียู เป็นต้น ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับ mainboard ไม่จำเป็นต้องมีการเซ็ทจัมเปอร์แล้ว แต่จะเป็นการเซ็ทแบบอัตโนมัติให้
พอร์ต (port) : เรียกได้ว่าเป็นเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่าเมนบอร์ดกับอุปกรณ์ภายนอกได้ เช่น เม้าส์ แป้นพิมพ์ เป็นต้น
หน่วยความจำ (memory slot) : เป็น Socket บนเมนบอร์ดสำหรับเสียบแรมนั่นเอง
ชิปเซต (chipset) : เป็นชุดของชิปที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนย้ายข้อมูลบนเมนบอร์ด
สล็อตการ์ดขยาย (expansion slot) : เป็นช่องสำหรับเสียบการ์ดที่ทำหน้าที่ขยายความสามารถของคอมพิวเตอร์
ชิปไบออส (bios) : ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่ติดบนเมนบอร์ด
ชิปซีมอส (cmos) : ทำหน้าที่เก็บเวลาของระบบและค่าต่าง ๆ ที่ bios ได้กำหนดไว้ เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไฟมาเลี้ยงจากแบตเตอร์รี่ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับซีมอส