การ์ดจอ (Graphic Card) เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ที่สำคัญชิ้นหนึ่งเลยก็ว่าได้ เนื่องจากการ์ดจอนั้นมีส่วนสำคัญในการช่วยกระบวนการประมวลผลภาพเมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ CPU และเมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดจอ จากนั้นการ์ดจอก็จะส่งข้อมูลที่ได้ไปยังจอมอนิเตอร์ นั่นเองครับ
ซึ่งจากที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น เราจะเห็นว่าการ์ดจอนั้นมีความสำคัญมากๆสำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานด้านการแสดงผล เช่น การดูหนัง การเล่นเกมส์ 3D กราฟิกสวยๆ หรือแม้กระทั่งการทำงานด้านกราฟิกที่ต้องใช้การ์ดจอเฉพาะด้านนั่นเอง ซึ่งหากเพื่อนๆนั้นกำลังมองหาการ์ดจอที่เหมาะกับการใช้งานของเพื่อนๆเอง จะมี วิธีเลือกซื้อการ์ดจอ อย่างไรบ้าง เรามาดูกันเลยครับ
เลือกซื้อการ์ดจอควรพิจารณาสิ่งใดบ้าง ?
1. รุ่นการ์ดจอ (Type of graphic card)
ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนเลยว่าการ์ดจอนั้นแต่ละรุุ่นนั้นมีประสิทธิภาพในการประมวลผลและแสดงผลไม่เท่ากันครับ โดยส่วนมากแล้วเราจะแบ่งประเภทการ์ดจอออก 3 ประเภทตามการใช้งานเป็นดังนี้
1.1. การ์ดจอทั่วไป หรือ การ์ดจอออนบอร์ด : การด์จอประเภทนี้จะเป็นการ์ดจอที่ใช้ในคอมพิวเตอร์รุ่นราคาปรหยัด ซึ่งความสามารถนั้นก็ไม่ได้โดเด่นหวือหวา เรียกว่าพอไปวัดไปวาได้ ไว้ใช้สำหรับดูหนัง ฟังเพลง และการใช้งานทั่วไป
1.2. การ์ดจอสำหรับทำงาน : เหมาะแก่การ Render ภาพกราฟิก เหมาะแก่การประมวลผล, ราคาแพงกว่าการ์ดจอสำหรับเล่นเกมส์ หลายคนถามว่าถ้าเอาไปเล่นเกมส์ได้ไหม? ก็ขอตอบว่าได้ แต่ก็จะไม่ได้ประสิทธิภาพเท่ากับการ์ดจอสำหรับเล่นเกมส์ครับ (มันเป็นประเภทไหนก็ควรใช้งานประเภทนั้นดีกว่านะครับ) ยกตัวอย่างรุ่นการ์ดจอทำงาน ได้แก่ AMD Firepro, Nvidia Quadro
1.3 การ์ดจอสำหรับเล่นเกมส์ : เหมาะแก่การแสดงผลที่ค่า frame per second (FPS) สูงๆ นอกจากนั้นยังเน้นในเรื่องของ Resolotion ที่มีความละเอียดที่สูงของภาพขึ้นไปด้วย (เหมาะแก่การแสดงผล), กินไฟเยอะกว่าการ์ดจอทำงาน ยกตัวอย่างได้แก่ Nvidia Geforce, AMD Radeon
2 หน่วยความจำ (Memmory)
การ์ดจอนั้นจะต้องมีหน่วยความจำที่เพียงพอในการใช้งาน เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู และสำหรับการ์ดแสดงผล บางรุ่น ก็สามารถประมวลผลได้ภายในตัวการ์ด โดยทำหน้าที่ในการ ประมวลผลภาพ แทนซีพียูไปเลย ช่วยให้ซีพียูไม่ต้องรับภาระหนักจึงทำให้ซีพียูนั้นสามารถประมวลผลการทำงานได้เร็วขึ้น และเมื่อได้รับข้อมูลจากซีพียูมาการ์ดแสดงผล ก็จะเก็บข้อมูลที่ได้รับมาไว้ในหน่วยความจำส่วนนี้นี่เอง โดยสิ่งสำคัญในหน่วยความจำของการ์ดจอนั้นมีอยู่ 2 อย่างคือ
- การ์ดจอที่มีหน่วยความจำมากๆ ก็จะรับข้อมูลมาจากซีพียูได้มากขึ้น ช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพ มีความเร็วสูงขึ้น
- การ์ดจอที่มีหน่วยความจำความเร็วสูง จะมารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ยิ่งถ้าข้อมูล ที่มาจากซีพียู มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งต้องใช้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ๆ เพื่อรองรับการทำงานได้โดยไม่เสียเวลา ข้อมูลที่มี ขนาดใหญ่ๆ นั่นก็คือข้อมูลของภาพ ที่มีสีและความละเอียดของภาพสูงๆ
3. ความละเอียดในการแสดงผล (Resolution)
การ์ดแสดงผลที่ดีจะต้องมีความสามารถในการแสดงผลในความละเอียดสูงๆ ได้เป็นอย่างดี ความละเอียดในการแสดงผลหรือ Resolution ก็คือจำนวนของจุดหรือพิเซล (Pixel) ที่การ์ดสามารถนำไป แสดงบนจอภาพได้ จำนวนจุดยิ่งมาก ก็ทำให้ภาพที่ได้ มีความคมชัดขึ้น ส่วนความละเอียดของสีก็คือ ความสามารถในการแสดงสี ได้ในหนึ่งจุด จุดที่พูดถึงนี้ก็คือ จุดที่ใช้ในการแสดงผล ในหน้าจอ
4. อัตราการรีเฟรชหน้าจอ (Refresh rate)
การ์ดแสดงผลที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีอัตราการรีเฟรชหน้าจอได้หลายๆ อัตรา อัตราการรีเฟรชก็คือ จำนวนครั้งในการกวาดหน้าจอ ใหม่ในหนึ่งวินาที ถ้าหากว่าอัตรารีเฟรชต่ำ จะทำให้ภาพบนหน้าจอ มีการกระพริบ ทำให้ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ เกิดอาการล้า ของกล้ามเนื้อตา และอาจทำให้เกิดอันตราย กับดวงตาได้ อัตราการรีเฟรชในปัจจุบันอยู่ที่ 72 เฮิรตซ์ ถ้าใช้จอภาพขนาดใหญ่ อัตรารีเฟรชยิ่งต้องเพิ่มมากขึ้น อัตรารีเฟรชยิ่งมากก็ยิ่งดี
5. จุดประสงค์หลักในการใช้งาน และ งบประมาณ
ก่อนอื่นเราต้องถามตัวเองให้แน่ใจว่าแท้จริงแล้วนั้น เราต้องการนำการ์ดจอมาใช้งานทางด้านไหนเป็นหลัก (หากตัดสินใจไม่ได้ให้ย้อนอ่านข้อ 1) เพราะหากเราไม่ค่อยได้เล่นเกมส์ หรือ นานๆทีจะเล่น แต่กลับซื้อการ์ดจอแพงๆ อย่างเช่น Nvidia Geforce GTX มาดูหนังฟังเพลง เล่น Facebook ก็จะทำให้เราไม่ได้ใช้งานมันอย่างเต็มที่กับค่าเงินที่เสียไป แถมยังเป้นภาระในเรื่องค่าไฟอีกด้วย เป็นต้นครับ