ถ้าเราเอ่ยถึงการ์ดจอแล้ว หลายๆคนคงจะพอรู้บ้างว่าการ์ดจอนั้นมีส่วนในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับคอมพิวเตอร์ของเรา ทั้งในด้านการเล่นเกมส์ การดูหนัง การทำงานกราฟิก เป็นต้น ซึ่งการ์ดจอนั้นถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งเพื่อใช้ในการตัดสินใจในการซื้อคอมพิวเตอร์เลยก็ว่าได้ เพราะเพียงแค่ cpu นั้นไม่อาจจะสามารถทำให้คอมพิวเตอร์นั้นทำการประมวลผลการแสดงผลในเรื่องของกราฟิกได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั่นเอง
นอกจากนี้แล้วการ์ดจอแต่ละชนิดนั้นก็มีระดับประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน ตามราคา และแบรนด์ด้วย ซึ่งแบรนด์ของการ์ดจอที่เราคุ้นเคยกันดีนั่นก็คือ การ์ดจอของ Nvidia และการ์ดจอของ AMD ซึ่งโดยทั่วไปแล้วทั้ง 2 ผู้ผลิตการ์ดจอทั้ง Nvidia และ AMD นั้นจะแบ่งประเภทของการ์ดจอที่ผลิตขึ้นออกเป็น 2 ประเภท คือ
จุดเด่น : เหมาะแก่การ Render ภาพกราฟิก เหมาะแก่การประมวลผล, ราคาแพงกว่าการ์ดจอสำหรับเล่นเกมส์ หลายคนถามว่าถ้าเอาไปเล่นเกมส์ได้ไหม? ก็ขอตอบว่าได้ แต่ก็จะไม่ได้ประสิทธิภาพเท่ากับการ์ดจอสำหรับเล่นเกมส์ครับ (มันเป็นประเภทไหนก็ควรใช้งานประเภทนั้นดีกว่านะครับ)
ค่ายเขียว (Nvidia) จะเป็นซีรีห์ Nvidia Quadro
ค่ายแดง (AMD) จะเป็นซีรีห์ AMD Firepro
จุดเด่น : เหมาะแก่การแสดงผลที่ค่า frame per second (FPS) สูงๆ นอกจากนั้นยังเน้นในเรื่องของ Resolotion ที่มีความละเอียดที่สูงของภาพขึ้นไปด้วย (เหมาะแก่การแสดงผล), กินไฟเยอะกว่าการ์ดจอทำงาน
ค่ายเขียว(Nvidia) จะเป็นซีรีห์ Nvidia Geforce
ค่ายแดง (AMD) จะเป็นซีรีห์ AMD Radeon
การ์ดจอออนบอร์ด กับ การ์ดจอแยก คืออะไร?
นอกจากนี้แล้วเพื่อนๆหลายคนก็ยังต้องงงอกับคำว่า "การ์ดจอแยก และ การ์ดจอแบบออนบอร์ด" อีกว่ามันคืออะไรหว่า? ไหนๆก็ไหนๆละผมก็จะมาอธิบายให้ฟังกันครับว่าแต่ละประเภทมันคืออะไร อันไหนมันดีกว่ากัน
1. การ์จอแบบ ออนบอร์ด : การด์จอประเภทนี้จะเป็นการ์ดจอที่ใช้ในคอมพิวเตอร์รุ่นราคาปรหยัด ซึ่งความสามารถนั้นก็ไม่ได้โดเด่นหวือหวา เรียกว่าพอไปวัดไปวาได้ ไว้ใช้สำหรับดูหนัง ฟังเพลง และการใช้งานทั่วไป หากนำไปเล่นเกมส์ 3 มิติ กราฟิกสวยๆ คุณอาจจะพบกับอาการกระตุกได้ครับ หุหุ (ก็ตามที่บอกเบื้องต้นครับ คุณภาพแปรผันตามราคา)
2. การ์ดจอแยก : เป็นการ์ดจอที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ระดับกลางถึงระดับสูงครับ ซึ่งการ์ดจอแยกนั้นยังแบ่งออกได้อีกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับพื้นฐาน ระดับกลาง และระดับสูงอีกด้วย ซึ่งแต่ละระดับก็จะมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไปด้วย
2.1 การ์ดจอแยกระดับพื้นฐาน : เหมาะแก่นักเรียนนักศึกษาทั่วไป ที่ใช้ในการทำงานเล็กๆน้อยๆ ดูหนัง ฟังเพลง เล่น internet เล่น facebook และเล่นเกมส์ที่ไม่ได้เป็นเกมส์ที่มีกราฟิกอลังการหรูหรา ได้แก่ nVidia GeForce 820M , AMD Radeon HD 8210 เป็นต้น
2.2 การ์ดจอแยกระดับกลาง : เหมาะแก่ผู้ใช้งานที่ที่ใช้งานโปรแกรมที่ต้องการประสิทธิภาพของการ์ดจอที่เพิ่มมากขึ้น เช่นใช้การเล่นเกมส์กราฟิกระดับกลางๆ หรือใช้งานโปรแกรมกราฟิกระดับกลางๆ เช่น Adobe Photo Shop เป็นต้น ได้แก่ AMD Radeon HD 8750M ,nVidia GeForce 840M เป็นต้น
2.3 การ์ดจอแยกระดับสูง : เหมาะกับการใช้งานในด้านการประมวลผลที่สูง และใช้งานกราฟิกที่มีความละเอียดสูง การ์ดจอประเภทนี้มีความโดดเด่นในด้านการประมวลผลที่ไวมาก เมื่อเทียบกับการ์ดจอ 2 แบบก่อนหน้า ซึ่งราคาก็สูงตามด้วยและกินไฟเยอะกว่าการ์ดจอระดับรองลงมาอีกด้วยครับ ได้แก่ Nvidia gtx 880, AMD Radeon R9 M265X เป็นต้น
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานด้วยว่า ตัวเราเองนั้นใช้งานในระดับไหน เพื่อที่จะเลือกการ์ดจอ หรือคอมพิวเตอร์ ให้เหมาะสมกับตัวเราเองเพราะอย่างที่เราได้บอกไว้ในเบื้องต้น ว่าหากคุณเลือกการ์ดจอที่สุดแสนจะแพง แต่เอามาใช้แค่เล่น facebook ดู youtube ทำงานเกี่ยวกับพวก office ธรรมดา มันก็จะเป็นการเสียเงินไปโดยปล่าวประโยชน์ เพราะราคาการ์ดจอบางตัวนี้ราคาหลายหมื่นเลยทีเดียว ซึ่งตัวท็อปจริงๆ ก็เฉียดหรือเกินแสนเลยนะครับ