ข่าวไอทีความรู้ไอทีแก้ปัญหาคอมรีวิวโปรแกรมรีวิวเกมส์Programingติดต่อเรา
ข่าวไอที ความรู้ไอที แก้ปัญหาคอม รีวิวโปรแกรม รีวิวเกมส์ Programing ติดต่อเรา

เจาะลึก Ram คืออะไร ทําหน้าที่อะไร บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราบ้าง มาดูกัน

    แรม (RAM) คือ หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ที่ย่อมาจากคำว่า Random Access Memory เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมและความเร็วในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำแบบชั่วคราว ซึ่งหมายถึงจะสามารถทำงานได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยง เมื่อมีการตัดกระแสไฟฟ้าหรือปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลใน RAM ก็จะหายไป ซึ่งในปัจจุบันแรมนั้นได้ถูกพัฒนามาจนถึง Ram DDR4 ซึ่งรองรับการทำงานจาก ซีพียูอนุกรม Core i7 5xxx สถาปัตยกรรม Haswell-E ที่ใช้ซ็อกเก็ตแบบใหม่ LGA2011-v3 เป็นต้น

RAM ทำหน้าที่อะไร

    RAM ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือชุดคำสั่งจากโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆที่กำลังเปิดใช้งานอยู่ในคอมพิวเตอร์ แล้วส่งต่อไปยัง CPU ให้ประมวลผล คำนวณ และวิเคราะห์ข้อมูลตามต้องการ เมื่อ CPU คำนวณเสร็จแล้ว จะส่งผลการคำนวณหรือวิเคราะห์นั้นๆกลับมายัง RAM เพื่อส่งต่อไปยังโปรแกรมเจ้าของชุดคำสั่ง ก่อนจะแสดงผลของการคำนวณออกมาทางหน้าจอ เป็นต้น

รูปภาพ Bandwidth ของ RAM แต่ละรุ่น

                                รูปภาพจาก Twealtown.com

    การทำงานของ RAM นั้น จะเป็นการทำงานหรือการเขียน/บันทึกข้อมูลแบบสุ่ม หมายถึง CPU นั้นจะสามารถเข้าถึงทุกส่วนของ RAM ได้ วัตถุประสงค์ก็เพื่อเพิ่มความเร็วในการบันทึกและอ่านข้อมูลนั่นเอง ตรงนี้เองที่เป็นที่มาของคำว่า Random access

ส่วนประกอบของ RAM

1. Input Storage Area
เป็นส่วนที่ใช้รับข้อมูลจาก Input devices เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ Barcode reader และอื่นๆ โดยจะเก็บไว้เพื่อส่งให้ CPU ทำการประมวผล คำนวณหรือวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นต่อไป

2. Working Storage Area 
เป็นส่วนที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผลของ CPU

3. Output Storage Area
เป็นส่วนที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล คำนวณ และวิเคราะห์โดยหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU แล้วและอยู่ระหว่างรอส่งผลการประมวลดังกล่าวกลับคืนไปให้โปรแกรมเจ้าของชุดคำสั่ง เพื่อแสดงผลทาง Output devices ตามที่ผู้ใช้งานกำหนดไว้

4. Program Storage Area
เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งชุดดังกล่าว

    และแน่นอนว่าหาคอมพิวเตอร์เพื่อนๆนั้นมี RAM มาก ประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ก็จะสูงขึ้นด้วย แต่การจะเพิ่ม RAM ให้กับระบบคอมพิวเตอร์นั้นเราต้องพิจารณาด้วยว่า Ram ของเรานั้นเป็นแบบไหน เช่น DDR รุ่นไหน หรือเมนบอร์ดของเรารองรับได้กี่ตัว และที่สำคัญ Windows ของเรานั้นเป็นแบบกี่บิตด้วยนั่นเอง เพราะถ้าเป็น 32 บิต การเพิ่มแรมเข้าไปเยอะๆก็ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้เกินกว่านั้นนะครับเพราะ Windows 32 บิตนั้นรองรับได้สูงสุดประมาณ 4 GB เท่านั้นครับ

แท็กบทความ (Article Tags)

logo anissa

ห้องสมุด สาระความรู้ไอที เพื่อคนไทย

เราขอเป็นส่วนหนึ่ง ในการเผยแพร่ความรู้เรื่องไอที ข่าวไอที การแก้ปัญหาคอม การรีวิวโปรแกรม และรีวิวเกมส์ ด้วยภาษาอ่านที่เข้าใจง่าย เหมาะกับผู้อ่านในทุกๆระดับ

Privacy Policy

Follow & Contact Us

facebookemail

© 2014 - 2024 itnews4u.com All Right Reserved.