เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) คือ รูปแบบการให้บริการอย่างหนึ่งที่ให้บริการกับผู้ใช้งานมีความต้องที่จะฝากไฟล์เว็บไซต์ของตนเองเช่น ฐานข้อมูล source code และเว็บเมล์ ไว้กับผู้ให้บริการเซิฟเวอร์ (HSP: Hosting Service Provider) เพื่อให้เว็บไซต์ของเรานั้นออนไลน์อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชม. ซึ่งในส่วนใหญ่นั้น Web Hosting จะแบ่งรูปแบบของระบบปฏิบัติการที่ตัว Web Hosting ใช้อยู่ 2 ระบบปฏิบัติการใหญ่ๆ ที่ใช้งานคือ Windows หรือ Linux
- Web Hosting ที่ใช้ Windows เป็นระบบปฏิบัติการนั่นก็หมายความว่า ภาษาที่ใช้งานก็จะเป็น ASP หรือ ASP.Net และ PHP
- Web Hosting ที่ใช้ Linux เป็นระบบปฏิบัติการภาษาที่ใช้งานก็จะเป็น PHP ถ้าเว็บไซต์ของเราเขียนด้วย html อย่างเดียว ก็สามารถเลือกใช้ได้ทั้ง 2 ระบบ แต่ขอแนะนำให้ใช้เป็น Linux เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
ซึ่งเว็บเซิฟเวอร์จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางที่จะแสดงผลหน้าเว็บไซต์ให้กับผู้ท่องอินเทอร์เน็ตทั่วไปได้เช้าชมผ่านโดเมนเนมได้ตลอดเวลา โดยกรณีที่เว็บโฮสติ้งมีปัญหาหรือเครื่องดับ เว็บไซต์ของเราก็จะไม่สามารถเข้าได้เช่นกัน
วิธีเลือก Web Hosting ให้เหมาะกับเว็บไซต์ของเรา
1. สถานที่ตั้งของ Web Hosting
เราควรจะถามตัวเองก่อนว่ากลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาที่เว็บของเรานั้นเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ เพราะหากเป็นชาวไทยการเลือกเว็บโฮสติ้งในไทยนั้นจะทำให้เวลาในการเปิดเว็บไซต์ของเรานั้นไวกว่าโฮสติ้งในต่างประเทศนั่นเองครับ แต่หากกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวต่างชาติการเลือกเว็บไฮสติ้งในต่างประเทศก็จะดีกว่านั่นเอง
2. ขนาดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล
เว็บไซต์ของเรามีระบบและข้อมูลที่ขนาดใหญ่รึปล่าว? ซึ่งเป็นทั้งคำถามที่เราต้องถามกับตัวเองว่าในอนาคตเมื่อเว็บไซต์ของเรานั้นจะมีการเพิ่มปริมาณข้อมูลอีกเท่าใด ซึ่งปริมาณข้อมูลนี้หมายถึงไฟล์ทุกชนิดทั้งไฟล์รูป ไฟล์ source code และระบบอีเมล์ด้วยนั่นเองครับ
3. Bandwidth ของ Web Hosting
Bandwidth (แบนด์วิดท์) คือ อัตราการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างเว็บโฮสติ้งกับเราหรือผู้ชมเว็บไซต์ของเรา โดยเปรียบเสมือนกับท่อขนาดใหญ่ในการเชื่อมต่อเครือข่ายนั่นเอง ซึ่งปกติแล้วผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งนั้นจะมีแพคเกจให้เราเลือกอยู่ 2 ประเภทคือ แบบจำกัด Bandwidth เช่น Bandwidth 15000MB/เดือน หรือแบบ Unlimited ไปเลย ซึ่งตรงนี้นั้นทางที่ดีเราควรเลือกแบบ Unlimited ไปเลยนั่นเองครับ
4. ภาษาในการพัฒนาเว็บไซต์
ควรพิจารณาและศึกษาดูก่อนว่า Hosting ที่เรากำลังจะเช่านั้นมีการรองรับภาษาในการพัฒนาเว็บไซต์ของเราด้วยรึปล่าว
4. คุณภาพบริการของผู้ให้บริการ
เราอาจจะลองเมล์ไปสอบถามคำถามต่าง ๆ กับทาง Support ดู จากนั้นให้เราลองสังเกตุดูระยะเวลาการตอบกลับอีเมล์ปัญหาของที่เราส่งไปดู ว่าใช้เวลามากน้อยแค่ไหน ถ้าการตอบแต่ละครั้งใช้เวลานานแบบนี้ก็ไม่น่าที่จะเลือกใช้บริการนั่นเองครับ
5. ราคาและแพคเกจที่เหมาะสม
ส่วนมากแพคเกจของ Web Hosting นั้นจะแบ่งปัจจัยออกเป็น 3 ประเภทหลักๆคือ พื้นที่จัดเก็บข้อมูล, Bandwidth และ จำนวนโดเมนที่รองรับ ซึ่งราคานั้นจะแพงขึ้นตามปัจจัยทั้ง 3 นี้นั่นเองครับ