คอมพิวเตอร์รีสตาร์ทเองบ่อย ๆ นั้นเป็นปัญหาที่หลายคนเองนั้นคงปวดหัวอยู่ไม่น้อย เนื่องจากในบางเวลานั้นเราอาจจะทำงานทิ้งไว้แล้วยังไม่ได้ทำการบันทึกนั่นเอง ซึ่งสาเหตุปัญหาคอมพิวเตอร์ Restart เองบ่อย ๆ นั้นมักจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ปัญหาทางฮาร์ดแวร์ และปัญหาทางซอร์ฟแวร์หรือระบบปฏิบัติการ OS นั่นเอง ซึ่งมีสาเหตุอะไรบ้างเรามาดูกันเลย
สาเหตุและวิธีแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ Restart เอง
1. เกิดจากการอัพเกรดอุปกรณ์ใหม่เข้าไป
สาเหตุ : แต่อุปกรณ์นั้นไม่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆรวมไปถึงเมนบอร์ดได้ดีนัก เช่น เกิดจากการใช้แรมคนละยี้ห้อ หรือมีบัสที่แตกต่างจากแรมที่มีอยู่เดิม
วิธีแก้ปัญหา : การตรวจเช็คควรถอดแรมที่อัพเกรดเข้าไปใหม่ออกเสียก่อน แล้วจึงทดลองใช้งาน หากปัญหานี้หมดไป นั่นแสดงว่าป็นเพราะแรมตัวใหม่ นั่นเอง
2. เกิดจากเพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
สาเหตุ : เนื่องจากบางครั้งภายในเคสของเรามีการติดตั้งอุปกรณ์มากเกินไปและแต่ละตัวก็ล้วนกินไฟค่อนข้างมาก เช่น ติดตั้ง ฮาร์ดดิสก์ 2 ตัว หรือติดตั้งการ์ดจอ 3 มิติราคาแพง อุปกรณ์เหล่านี้อาจทำให้เพาเวอร์ซัพพลายจ่ายไฟไม่เพียงพอจนทำให้เครื่องต้องรีสตาร์ทใหม่อยู่บ่อย ๆ
วิธีแก้ปัญหา : เปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายตัวใหม่ที่มีวัตต์สูงกว่าเดิม
3. เกิดจากไวรัสรีสตาร์ท
สาเหตุ : มีความเป็นไปได้ว่าคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสตัวนี้นั้นอาจจะได้รับผลกระทบจากการที่ไวรัสนั้นเข้าไปเปลี่ยนแปลงค่ารีจิสเตอร์ภายในระบบ OS ของเราให้มีความผิดปกติเกิดขึ้นนั่นเอง
วิธีแก้ปัญหา : บูทเครื่องแบบ safe mode ครับ แล้ว เปิด msconfig โดยไปที่ start > run > พิมพ์ว่า msconfig จากนั้นไปที่ช่อง start up ครับ ให้ดูสิ่งผิดปกติ ที่เครื่อง start มันขึ้นมาตอนที่เราเปิดเครื่อง มันจะมีชื่อไฟล์แปลกๆ หรือที่เราไม่คุ้น และต้องสังเกตุว่า มันไม่น่าใช่โปรแกรมที่เราใช้งานอยู่แน่ๆ ส่วนใหญ่จะเป็น "ตัวเลข" จะสังเกตุง่าย หรือเป็นชื่อที่ใกล้เคียงกับไฟล์ system ของระบบ อาทิเช่น SVVIHOST, SCVVHOST ประมาณนี้ครับ จากนั้นก็เอาเครื่องหมาย / ออก แล้วก็ restart เครื่องใหม่
4. ไฟล์ OS ไม่สมบูรณ์หรือเสียหาย
สาเหตุ : เป็นไปได้ทั้ง 3 กรณีคือ
1. ไวรัส
2. โปรแกรมบางโปรแกรมเข้าไปรบกวนการทำงานหรือพยายามเข้าไปแก้ไขไฟล์ OS ซึ่งโปรแกรมพวกนั้นได้แก่โปรแกรมละเมิดลิขสิทธ์ต่างๆ เช่นโปรแกรม Crack เป็นต้น
3. ไฟล์ OS ที่นำมาติดตั้งนั้นไม่สมบูรณ์อยู่แล้วตั้งแต่แรก
วิธีแก้ปัญหา : ติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่โดยแนะนำให้ดาวน์โหลดไฟล์แท้แบบ Full จากผู้พัฒนาโดยตรงนั่นเองครับ
5. กระแสไฟฟ้าไม่เสถียรหรือไม่เพียงพอ
สาเหตุ : เกิดจากปลั๊กไฟเกิดการหลวมหรือปลั๊กไฟไม่ได้มาตรฐานจึงทำให้ไฟฟ้าที่จ่ายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั้นไม่เพียงพอนั่นเองครับ
วิธีแก้ปัญหา : ลองเปลี่ยนปลั๊กไฟใหม่หรือลองย้ายคอมพิวเตอร์ไปเสียบปลั๊กไฟตัวอื่นในบริเวณอื่นๆดู
ปัญหาที่เกิดจากอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อื่นๆ
แรม : ตอนมีอาการจะแสดงหน้าจอสีฟ้า (บลูสกรีน) ทำความสะอาดอาจช่วยได้ หรือหนักหน่อยคือเปลี่ยน
การ์ดจอ : มักเกิดตอนร้อนจัด อาจมีปัญหาจากชิปคุณภาพต่ำ ระบายความร้อนไม่ดี ลองใช้การ์ดจออื่นแทนหากปัญหาหายไปก็เตรียมเคลมได้เลย
ซีพียู : ระบายความร้อนไม่ดี อาจมีขาล็อคพัดลมหลวม ซิลิโคนแห้ง หรือพัดลมหมุนช้า หรือไม่หมุน หากเกิดปัญหานี้มักต้องใช้เวลานานในการรีสตาร์ทอีกครั้ง หรืออาจเปิดไม่ได้เป็นเวลานาน
เมนบอร์ด : มีชิปบางตัวชำรุด หรือคาปาซิเตอร์บางตัวชำรุด ทำให้แรงดันบนบอร์ดไม่คงที่ เมื่อแรงดันกระเพื่อมหรือขาดหายไปก็จะรีสตาร์ทเองได้ ต้องซ่อมบอร์ด หรือเปลี่ยน