เนื่องจากภาษา PHP นั้นเป็นภาษแบบสคริปต์ที่ต้องอาศับการเขียนแทรกโค้ดคำสั่งลงไปในเอกสาร HTML ดังนั้นภายใน web page เดียวกันนั้นจึงอาจจะมีทั้งโค้ดส่วนที่เป็นสคริปต์ของ PHP และ โค้ดของ HTML ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า โครงสร้างหรือรูปแบบของเอกสารเว็บเพจนั้น ต้องถูกกำหนดด้วยแท็กของ HTML เป็นหลัก ถึงแม้ว่าเราจะสร้างเว็บเพจด้วย PHP แต่ก็ยังต้องใช้ HTML เป็นตัวกำหนดรูปแบบของเอกสารเสมอ ดังนั้นเพื่อเป็ฯการแยกความแตกต่างของทั้ง 2 ส่วนนี้ โค้ดส่วนที่เป็น HTML ก็เขียนตามปกติได้ แต่ส่วนของ PHP จะต้องเขียนไว้ในแท็ก ซึ่งเป็นแท็กมาตรฐานของ PHP ที่นิยมใช้กันมากที่สุด และสามารถใช้ได้เลยโดยไม่ต้องปรับอะไร
ตัวอย่างในหน้านี้จะแยกสี code เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ โดย
* สีแดง คือ code ของ HTML
* สีน้ำเงิน คือ code ของ PHP
ตัวอย่างการแทรกสคริปต์ PHP ลงไประหว่างแท็กของเอกสาร HTML
<body>
<?php
echo "สวัสดี itnews4u";
?>
</body>
เมื่อเราเปิดดูผลลัพธ์ของโค้ดนี้ด้วยเว็บเบราเซอร์ ส่วนที่เป็นสคริปต์ PHP จะกลายเป็นผลลัพธ์จากการทำงานของสคริปต์เท่านั้น เราจะไม่เห็นส่วนของโค้ด PHP ปรากฏให้เห็น ดังนั้นผู้ใช้จะไม่มีทางรู้เลยว่า เราเขียนสคริปต์ PHP อะไรบ้าง นอกจากนี้แล้ว เรายังสามารถใช้ PHP แสดงแท็ก HTML ออกไปที่้เบราเซอร์ โดยแท็ก HTML ที่ถูกส่งออกไปนี้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเอกสาร HTML ไปเลย เช่น
<body>
<?php
echo "<h2>Hello World !!</h2>";
?>
</body>
เราสามารถแทรกสคริปต์ของ PHP ลงไปได้ตลอดทั้งเอกสาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กัยว่า ตำแหน่งใดที่เราจำเป็นต้องใช้สคริปต์ เช่น
<body>
<p>My first code</p>
<?php echo "<h2>Hello World !!</h2>"; ?>
<br>
<?php
if($x = 2){
echo "x เท่ากับ ค่า 2";
}
?>
</body>
นอกจากนี้ เทคนิคการแทรกสคริปต์ PHP ในเอกสาร HTML ยังสามารถพลิกแพลงได้อีกหลายรูปแบบ ซึ่งเราจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ ในบทความต่อไปครับผม
อ่านเรื่องต่อไป : ชนิดข้อมูล และ ตัวแปร ใน PHP