การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย เป็นสิ่งที่มักเห็นได้ทั่วๆไปในปัจจุบัน ซึ่งบางคนก็เรียกการเชื่อมต่อนี้ว่า Wi-Fi แต่บางคนก็เรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ในอีกชื่อว่า Wireless แล้วสรุปคือมันต่างกันหรือปล่าว? ที่เราเรียกกันอยู่มันถูกต้องหรือไม่? วันนี้ itnews4u จะมาไขคำตอบว่า Wi-Fi และ Wireless คืออะไร แตกต่างกันไหม ให้เพื่อนๆกันครับ
Wi-Fi คืออะไร
Wi-Fi (wireless fidelity ) หมายถึง องค์กรที่ทำหน้าที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Lan) ภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสารมาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์แต่ะละยี่ห้อกันนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา ซึ่งเมื่ออุปกรณ์เหล่านั้นผ่านการตรวจสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อุปกรณ์ก็จะถูกประทับตราสัญลักษณ์ Wi-Fi Certified รับรองว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นๆที่มีตราสัญลักษณ์ Wi-Fi certified ได้ ซึ่งนี่แหละครับจึงทำให้หลายๆคนนำคำนี้มาใช้เรียกแทนอุปกรณ์เชื่อมต่อไร้สายนั่นเอง คล้ายๆกับคำว่า มาม่า ที่คนส่วนใหญ่เรียกแทนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปซะทุกยี่ห้อ นั่นเองครับ
Wireless คืออะไร
Wireless หมายถึง ลักษณะของการใช้งานอุปกรณ์ด้านสื่อสารโทรคมนาคม แปลตรงตัวว่าไร้สาย ฉะนั้นอุปกรณ์อะไรก็ตามที่ติดต่อสื่อสารกันโดยไม่ใช้สายสัญญาณถือ ว่าอุปกรณ์นั้นเป็น Wireless เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะเรียกอะไรก็เหมือนๆ กันครับไม่ผิด Wireless ก็ถูกครับ Wi-Fi ก็ถูกครับ
Wi-Fi และ Wireless แตกต่างกันไหม
สรุปคือ Wi-Fi หรือ Wireless ก็หมายถึง เครือข่ายไร้สาย ( Wireless LAN : WLAN ) ที่เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้อย่างเช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ให้สามารถสื่อสารกันได้ผ่าน Access point รวมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการเชื่อมต่อแบบ WLAN นี้จะปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ และติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้น ซึ่งแตกต่างจากระบบ LAN ที่จะต้องใช้สาย Lan เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายนั่นเอง
ประเภทของอุปกรณ์ Wi-Fi
1. 802.11a มาตราฐานนี้จะมีความเร็ว และความเสถียรภาพของการเชื่อมต่อสูง แต่ไม่สามารถที่จะทำงานร่วมกับ 802.11b ได้ สำหรับ 802.11a นี้ สามารถที่จะส่งถ่ายข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงถึง 54 Mbps และทำงานที่ความถี่ 5 GHz
2. 802.11b มาตราฐานนี้จะนิยมใช้ตามสนามบินใหญ่ๆ หรือบริการในร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ซึ่งจะทำงานที่ความถี่ 2.4 GHz (เป็นความถี่เดียวกับมือถือ และไมโครเวฟ ซึ่งไม่มีอันตราย) และสามารถที่จะส่งถ่ายข้อมูลได้ที่ความเร็วถึง 11 Mbps
3. 802.11g มาตราฐานนี้ทำงานได้ที่ความถี่ 2.4 GHz และสามารถเข้ากับมาตราฐาน 802.11b แต่มีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 54 Mbps มักนำมาใช้กับงานที่ต้องการความแน่นอน และความเร็วในการเชื่อมต่อรวมถึงการแชร์ไฟล์ขนาดใหญ่